วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

บันทึกเหตุการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ใน จ.ราชบุรี ตั้งแต่ ม.ค.2563-ปัจจุบัน

  • 9-11 ก.พ.2565 ปิดสำนักงานที่ดิน จ.ราชบุรี เนื่องจากเจ้าหน้าที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
  • 4 ก.พ. 2565 โรงพยาบาลราชบุรี อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี นำร่องฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับเด็กกลุ่มเสี่ยงอายุ 5-11 ปี วันแรก
  • 2 ก.พ.2565 พบผู้ป่วยใน รร.ธรรมจารินี 105 ราย และ รร.สัมมาราม 40 ราย และ รร.อื่น ๆ อีก 10 แห่ง จำนวน 15 ราย
  • 24 ม.ค.2565 ปรับระดับพื้นที่ใหม จ.ราชบุรี อยู่ในพื้นที่ควบคุม
    • 2 ธ.ค.2564 สถาบันราชบุรีศึกษา รายงานแนวโน้มผู้ติดเชื้อรายใหม่ของ จ.ราชบุรี 10 วันข้างหน้า (1-10 ธ.ค.2564) เริ่มลดลง ไม่น่าจะเกิน 100 คน/วัน
      • ค่าเฉลี่ยการฉีดวัคซีนรอบ 10 วันที่ผ่านมา (21-30 พ.ย.2564)
        • เข็มที่ 1 จำนวน 1,888 คน/วัน (ค่าเฉลี่ยลดลง 16.53%)
        • เข็มที่ 2 จำนวน 3,165 คน/วัน (ค่าเฉลี่ยลดลง 21.62%)
        • เข็มที่ 3 จำนวน 616 คน/วัน (ค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 212.7%)
      • จำนวนชาวราชบุรีที่ฉีดเข็ม 2 ครบตามเกณฑ์ 451,649 คน คิดเป็นร้อยละ 49.16 ของประชากร จ.ราชบุรี (เพิ่มขึ้น 3.75%/10 วัน น้อยกว่ารอบ 10 วันก่อน 0.79%)
      • หากค่าเฉลี่ยการฉีดวัคซีนยังคงเป็นเช่นนี้ จำนวนชาวราชบุรีที่จะได้รับการฉีดเข็มที่ 2 ครบตามเกณฑ์ ในอัตราร้อยละ 70 ของประชากร พยากรณ์ไว้ในวันที่ #29มกราคม2565 (ช้ากว่าการพยากรณ์ครั้งก่อน 14 วัน)
      • อำเภอที่มีร้อยละของผู้ติดเชื้อต่อประชากรในอำเภอนั้น ๆ มากที่สุด ได้แก่ อ.เมืองราชบุรี (ร้อยละ 5.63) รองลงมา อ.ดำเนิน (ร้อยละ 5.1) อันดับ 3 อ.บ้านโป่ง (ร้อยละ 4.73) และน้อยที่สุด ได้แก่ อ.จอมบึง (ร้อยละ 1.86)
      • จ.ราชบุรีได้รับการจัดสรรวัคซีนแล้ว 1,032,895 โดส (ข้อมูลเมื่อ 28 พ.ย.2564) ยี่ห้อที่มากที่สุดคือ Sinovac คิดเป็นร้อยละ 36.20 รองลงมาคือ AstraZeneca ร้อยละ 34.73


    • 1 ธ.ค.2564 จ.ราชบุรีถูกปรับลดจากพื้นที่ควบคุมสูงสุด เป็นพื้นที่ควบคุม (สีส้ม)
    • 27 พ.ย.2564 จ.ราชบุรี ประกาศปรับแก้ไขสูตรการฉีดวัคซีน
    • 22 พ.ย.2564  ศูนย์บริการฉีดวัคซีน covid-19 โรงยิมเนเซี่ยม อำเภอเมืองราชบุรี ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ เข็มที่ 1 ให้ประชาชน ที่อยู่ในเขต อ.เมืองราชบุรีทุกสัญชาติ ที่มีอายุ 12-18 ปี 
    • 22 พ.ย.2564  สถาบันราชบุรีศึกษา รายงานแนวโน้มผู้ติดเชื้อรายใหม่ของ จ.ราชบุรี 10 วันข้างหน้า (21-30 พ.ย.2564) ยังคงอาจมีมากกว่า 120 คน/วัน
      • ค่าเฉลี่ยการฉีดวัคซีนรอบ 10 วันที่ผ่านมา (11-20 พ.ย.2564)
        • เข็มที่ 1 จำนวน 2,262 คน/วัน (ค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 17.6%)
        • เข็มที่ 2 จำนวน 4,038 คน/วัน (ค่าเฉลี่ยลดลง 24.2%)
        • เข็มที่ 3 จำนวน 197 คน/วัน (ค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 245.6%)
      • จำนวนชาวราชบุรีที่ฉีดเข็ม 2 ครบตามเกณฑ์ 419,996 คน คิดเป็นร้อยละ 45.71 ของประชากร จ.ราชบุรี (เพิ่มขึ้น 4.54%/10 วัน น้อยกว่ารอบ 10 วันก่อน 1.14%)
      • หากค่าเฉลี่ยการฉีดวัคซีนยังคงเป็นเช่นนี้ จำนวนชาวราชบุรีที่จะได้รับการฉีดเข็มที่ 2 ครบตามเกณฑ์ ในอัตราร้อยละ 70 ของประชากร พยากรณ์ไว้ในวันที่ #15มกราคม2565 (ช้ากว่าการพยากรณ์ครั้งก่อน 15 วัน)
      • อำเภอที่มีร้อยละของผู้ติดเชื้อต่อประชากรในอำเภอนั้น ๆ มากที่สุด ได้แก่ อ.เมืองราชบุรี (ร้อยละ 5.47) รองลงมา อ.ดำเนิน (ร้อยละ 4.99) อันดับ 3 อ.บ้านโป่ง (ร้อยละ 4.67) และน้อยที่สุด ได้แก่ อ.จอมบึง (ร้อยละ 1.79)
    • 16 พ.ย.2564 สรุปสถานที่ฉีดวัคซีนใน จ.ราชบุรี
    • 11 พ.ย.2564 สถาบันราชบุรีศึกษา รายงานแนวโน้มผู้ติดเชื้อรายใหม่ของ จ.ราชบุรี 10 วันข้างหน้า (11-20 พ.ย.2564) ยังคงอาจมีมากกว่า 150 คน/วัน
      • ค่าเฉลี่ยการฉีดวัคซีนรอบ 10 วันที่ผ่านมา (1-10 พ.ย.2564)
        • เข็มที่ 1 จำนวน 1,844 คน/วัน (ค่าเฉลี่ยลดลง 48.01%)
        • เข็มที่ 2 จำนวน 5,214 คน/วัน (ค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 55.0%)
        • เข็มที่ 3 จำนวน 55 คน/วัน (ค่าเฉลี่ยลดลง 73.3%)
      • จำนวนชาวราชบุรีที่ฉีดเข็ม 2 ครบตามเกณฑ์ 378,232 คน คิดเป็นร้อยละ 41.17 ของประชากร จ.ราชบุรี (เพิ่มขึ้น 5.68%/10 วัน)
      • หากค่าเฉลี่ยการฉีดวัคซีนยังคงเป็นเช่นนี้ จำนวนชาวราชบุรีที่จะได้รับการฉีดเข็มที่ 2 ครบตามเกณฑ์ ในอัตราร้อยละ 70 ของประชากร พยากรณ์ไว้ในวันที่ #31ธันวาคม2564 (เร็วกว่าการพยากรณ์ครั้งก่อน 3 วัน)
      • อำเภอที่มีร้อยละของผู้ติดเชื้อมากที่สุด ได้แก่ อ.เมืองราชบุรี (ร้อยละ 5.27) และน้อยที่สุด ได้แก่ อ.จอมบึง (ร้อยละ 1.66)
    • 2 พ.ย.2564 สถาบันราชบุรีศึกษา รายงานแนวโน้มผู้ติดเชื้อรายใหม่ของ จ.ราชบุรี 10 วันข้างหน้า (1-10 พ.ย.2564) ยังคงอาจมีมากกว่า 150 คน/วัน
      • ค่าเฉลี่ยฉีดวัคซีนรอบ 11 วัน (21-31 ต.ค.2564)
        • เข็มที่ 1 จำนวน 3,547 คน/วัน (ค่าเฉลี่ยลดลง 21.8%
        • เข็มที่ 2 จำนวน 3,365 คน/วัน (ค่าเฉลี่ยลดลง 35.06%)
        • เข็มที่ 3 จำนวน 206 คน/วัน (ค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 80.7%)
      • จำนวนชาวราชบุรีที่ฉีดเข็ม 2 ครบตามเกณฑ์ 326,095 คน คิดเป็นร้อยละ 35.49 ของประชากร จ.ราชบุรี (เพิ่มขึ้น 4.03%) หากค่าเฉลี่ยการฉีดวัคซีนยังคงเป็นเช่นนี้ จำนวนชาวราชบุรีที่จะได้รับการฉีดเข็มที่ 2 ครบตามเกณฑ์ ในอัตราร้อยละ 70 ของประชากร พยากรณ์ไว้ในวันที่ 3 มกราคม 2565 (ช้ากว่าการพยากรณ์ครั้งก่อน 6 วัน)
      • อำเภอที่มีร้อยละของผู้ติดเชื้อมากที่สุด ได้แก่ อ.เมืองราชบุรี (ร้อยละ 5.16) และน้อยที่สุด ได้แก่ อ.จอมบึง (ร้อยละ 1.51)
      • จ.ราชบุรีได้รับการจัดสรรวัคซีนแล้ว 877,924 โดส ยี่ห้อที่มากที่สุดคือ Sinovac คิดเป็นร้อยละ 42.48 รองลงมาคือ AstraZeneca ร้อยละ 30.40




    • 1 พ.ย.2564 จ.ราชบุรี ปรับลดจากพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดงเข้ม) เหลือแค่พิ้นที่ควบคุมสูงสุด (สีแดง)
    • 12 ต.ค.2564 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรีประกาศเชิญชวนนักเรียน อายุ 12 – 18 ปี ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดราชบุรี (แต่เรียนที่โรงเรียนนอกจังหวัด) ที่ประสงค์จะฉีดวัคซีน Pfizer จังหวัดราชบุรี ลงทะเบียน กรอกข้อมูลตามแบบฟอร์มใน QR Code https://forms.gle/6pjoJeKDNar8vg9H9  ในส่วนการนัดหมายเข้ารับวัคซีนจะแจ้งให้ทราบในภายหลัง เนื่องจากต้องรอการจัดสรรวัคซีนจากกระทรวงสาธารณสุข

    • 11 ต.ค.2564 สถาบันราชบุรีศึกษา รายงานแนวโน้มผู้ติดเชื้อรายใหม่ของ จ.ราชบุรี 10 วันข้างหน้า (11-20 ต.ค.2564) ยังคงอาจมีมากกว่า 200 คน/วัน
      • ค่าเฉลี่ยฉีดวัคซีนรอบ 10 วัน (1-10 ต.ค.2564)
        • เข็มที่ 1 จำนวน 2,904 คน/วัน (ค่าเฉลี่ยลดลง 66.4%)
        • เข็มที่ 2 จำนวน 3,698 คน/วัน (ค่าเฉลี่ยลดลง 2.3%)
        • เข็มที่ 3 จำนวน 118 คน/วัน (ค่าเฉลี่ยลดลง 9.3%)
      • จำนวนชาวราชบุรีที่ฉีดเข็ม 2 ครบตามเกณฑ์ 236,036 คน คิดเป็นร้อยละ 25.69 ของประชากร จ.ราชบุรี (เพิ่มขึ้น 4.02%)
      • หากค่าเฉลี่ยการฉีดวัคซีนยังคงเป็นเช่นนี้ จำนวนชาวราชบุรีที่จะได้รับการฉีดเข็มที่ 2 ครบตามเกณฑ์ ในอัตราร้อยละ 70 ของประชากร พยากรณ์ไว้ในวันที่ 28 มกราคม 2565 (ช้ากว่าการพยากรณ์ครั้งก่อน 2 วัน)
      • อำเภอที่มีร้อยละของผู้ติดเชื้อมากที่สุด ได้แก่ อ.เมืองราชบุรี (ร้อยละ 4.70) และน้อยที่สุด ได้แก่ อ.จอมบึง (ร้อยละ 1.22)



    • 11 ต.ค.2564 เปิดศูนย์พักคอยในชุมชน (Community Isolation) หรือ CI เทศบาลตำบลเขางู ณ ศาลาไวคกุล วัดห้วยตะแคง ตำบลเกาะพลับพลา อ.เมือง จ.ราชบุรี
    • 7 ต.ค.2564 
      ประกาศจากศูนย์บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 อ.เมืองราชบุรี ( โรงยิมเนเซียม ) โดย รพ.ราชบุรี  เนื่องจากการให้บริการฉีดวัคซีน ณ โรงยิมเนเซียม จ.ราชบุรี จะยุติภายในเดือนพฤศจิกายน 2564 นี้ ทาง ร.พ.ราชบุรีจึงขอแจ้งว่า การลงทะเบียนเพื่อฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 จะสิ้นสุดลงในวันที่ 20 ตุลาคม 2564  จึงขอเชิญชวนให้ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปและอยู่ในเขต อ.เมืองราชบุรี และยังไม่เคยได้รับวัคซีน ลงทะเบียนที่ช่องทาง https://bit.ly/3g7bdMe ภายในวันที่ 20 ตุลาคม 2564 และทาง รพ.ราชบุรีจะดำเนินการเรียกคิวมาฉีดทั้งหมดภายในเดือนตุลาคม
    • 1 ต.ค.2564 จังหวัดราชบุรีคำสั่งฉบับที่ 41 สรุปสาระสำคัญดังนี้ 
      • 1-15 ต.ค.2564 ห้ามออกนอกเคหะสถาน 22.00 น.- 04.00 น.ของวันรุ่งขึ้น
      • โรงเรียนและสถาบันการศึกษา เปิดการเรียนการสอนได้
      • สถานรับเลี้ยงเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สถานพัฒนาเด็กประถมวัย ศูนย์เด็กพิเศษ เปิดได้
      • ร้านอาหารและเครื่องดื่มเปิดได้ถึงเวลา 21.00 น. ยังห้ามการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ภายในร้าน ห้องปรับอากาศผู้บริโภคไม่เกินร้อยละ 50  พื้นที่เปิด ผู้บริโภคไม่เกินร้อยละ 75
      • ร้านที่มีดนตรี แสดงได้ไม่เกิน 5 คน นักดนตรีต้องสวมหน้ากากตลอดเวลา อนุโลมเฉพาะนักร้อง นักแสดง หรือนักดนตรีประเภทเครื่องเป่า
      • ร้นสะดวกซื้อ ตลาดสด ตลาดนัด เปิดได้จนึง 21.00 น. ร้านสะดวกซื้อให้ปิด 21.00 น.-04.00 น.ของวันรุ่งขึ้น
      • ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ บ้านหนังสือ หอศิลป์ แหล่งประวัติศาสตร์  โบราณสถาน  ศูนย์การเรียนรู้ ศูนย์วิทยาศาสตร์ หรืออื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายกัน เปิดได้ ผู้เช้าชมไม่เกินร้อยละ 75
      • โรงภาพยนต์ เปิดได้ไม่เกิน 21.00 น.ผู้เข้าชมไม่เกินร้อยละ 50 เว้นระยะห่าง สวมหน้ากากอนามัย ห้ามรับประทานอาหาร
      • สถายเสริมความงาม ร้านเสริมสวย แต่งผมหรือตัดผม ทำเล็บ ร้านสัก สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ  สปา นวดแผนไทย (เว้น การอบตัว อบสมุนไพร อบไอน้ำ) เปิดได้ถึง 21.00 น. โดยผ่านการนัดหมาย ผู้รับบริการต้องฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์ หรือผ่านการตรวจ RT-PCR หรือ ATK ภายในระยะเวลาที่กำหนด
      • สวนสาธารณะ ลานกีฬา สนามกีฬา ฟิตเนต เปิดได้ ไม่เกิน 21.00 น.
      • การแข่งขันกีฬา ผู้เช้าชมไม่เกินร้อยละ 25
      • ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอล เปิดได้ไม่เกิน 21.00 น.
      • โรงเรียนและสถาบันกวดวิชาเปิดได้
      • สวนสนุก สวนน้ำ ตู้เกม เครื่องเล่น  ร้านเกม การจัดเลี้ยงหรือการประชุม ยังคงปืดการดำเนินการ
      • เตรียมการเปิดพื้นที่นำร่องการท่องเที่ยว
    • 24 ก.ย.2564 จังหวัดราชบุรี รณรงค์ฉีดวัคซีนครั้งใหญ่ เนื่องใน "วันมหิดล" ให้ได้ 18,200 โดส ทั่วทุกอำเภอ ในพื้นที่จังหวัดราชบุรี จังหวัดราชบุรีได้เร่งรัดการ
      ฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 ให้ได้ร้อยละ 50 ภายในสิ้นเดือนตุลาคม 2564
    • 23 ก.ย.2564 เปิดศูนย์พักคอยในชุมชน (Community Isolation) หรือ CI ตำบลคุ้งน้ำวน  ณ ศาลาการเปรียญวัดเหนือวน หมู่ที่ 2 ต.คุ้งน้ำวน อ.เมือง จ.ราชบุรี
    • 17 ก.ย.2564 นายประสงค์ บุญเขียน อายุ 40 ปี อาสากู้ภัยมูลนิธิปฐมบรมราชานุสรณ์ ราชบุรี เสียชีวิตหลังจากได้รับการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID - 19 เข็มที่ 3 ณ บ้านเลขที่ 21/1 ม. 4 ต.เจดีย์หัก อำเภอเมืองราชบุรี สำนักงานประกันสังคมราชบุรี ได้มอบเงินค่าทดแทนให้กับครอบครัวของนาย ประสงค์ บุญเขียน ซึ่งเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ของประกันสังคมราชบุรี โดยได้มีการวินิจฉัย และอนุมัติเงินช่วยเหลือให้ก่อน จำนวน 239,281 บาท ประกอบไปด้วย เงินค่าทำศพ 50,000บาท เงินสมทบ กรณีเสียชีวิต 6 หมื่นกว่าบาท และเงินชราภาพ กรณีเสียชีวิต สะสม 9 หมื่นกว่าบาท  เนื่องจากเป็นเคสแรกของจังหวัดราชบุรี
    • 15-30 ก.ย.2564
      จ.ราชบุรี ออกคำสั่งมาตรการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบายโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)  ฉบับที่ 39  ยังคงให้ จ.ราชบุรี เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
      • ห้ามออกนอกเคหสถาน ตั้ง 21.00 - 04.00 น.ของวันรุ่งขึ้น
      • ปิดสถานที่ชั่วคราวจนกว่าจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ได้แก่ สถานที่เล่นการพนันทุกประเภท
      • ปิดชั่วคราว 15-30 ก.ย.2564 ได้แก่
        • สถานบริการ สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ
        • สถานประกอบกิจการอาบน้ำ อาบอบนวด
        • โต๊ะสนุกเกอร์  บิลเลียด
        • สวนสนุก โบว์ลิ่ง ตู้เกม เครื่องเล่นเกม
        • สนามเด็กเล่น เครื่องเล่น บ้านลม บ้านบอล
        • ร้านเกมและอินเทอร์เน็ต
        • สถานประกอบกิจการอาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร
        • สถาบันลีลาศหรือสอนลีลาศ
        • สถานรับเลี้ยงเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เด็กก่อนวัยเรียน
    • 14 ก.ย.2564 เปิดศูนย์พักคอยในชุมชน (Community Isolation) ณ วัดเขานกกระจิบ ตำบลน้ำพุ (น้ำพุ) อ.เมือง จ.ราชบุรี
      รองรับผู้ป่วย จำนวน 40 เตียง โดยเป็นชาย 20 เตียง หญิง 20 เตียง
    • 12 ก.ย.2564 การสำรวจผู้ต้องการฉีดวัคซิน Moderna สภากาชาดไทยตามที่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรีได้สั่งจองวัคซีนทางเลือก “Moderna จากสภากาชาดไทย” จำนวน 40,000 โด๊ส เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มีความรุนแรงมากขึ้นมาโดยตลอด ทั้งนี้สภากาชาดไทยได้พิจารณา กลุ่มคนเป้าหมาย ที่มีความจำเป็นต้องได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในลำดับแรก
    • 11 ก.ย.2564 สถาบันราชบุรีศึกษา รายงานแนวโน้มผู้ติดเชื้อรายใหม่ 10 วันข้างหน้า ยอดไม่ต่ำกว่า 400 คน/วัน ค่าเฉลี่ยฉีดวัคซีนรอบ 10 วันที่ผ่านมา เข็มที่ 1 จำนวน 4,437 คน/วัน เข็มที่ 2 จำนวน 3,095 คน/วัน จำนวนชาวราชบุรีที่ฉีดเข็ม 2 ครบตามเกณฑ์ 88,130 คน คิดเป็นร้อยละ 9.59 ของประชากร จ.ราชบุรี
    • 8 ก.ย.2564 บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด (โรงไฟฟ้าราชบุรี) มอบ “ชุดกล่องรอดตาย ตัวช่วยผู้ติดเชื้อ COVID-19” เพื่อส่งมอบให้กับผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่รักษาตัวเองที่บ้าน (Home Isolation) ชุมชนในพื้นที่ 9 ตำบลรอบโรงไฟฟ้า โดยภายในกล่องจะประกอบด้วย
      • เครื่องวัดอุณหภูมิแบบเทอร์โมมิเตอร์
      • เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว
      • ยาพาราเซตามอล
      • ยาฟ้าทะลายโจร
      • หน้ากากอนามัย
      • เจลแอลกอฮอร์
    • 8 ก.ย.2564 รงพยาบาลโพธาราม ประกาศการเลื่อนฉีดวัคซีน AstraZeneca  เข็มที่ 2 ให้เร็วขึ้น โดยขอให้ประชาชนมาตามวันเวลาในภาพด้านล่าง 
    • 7 ก.ย.2564 จ.ราชบุรี พบยอดผู้ป่วยใหม่ จำนวน 439 ราย อันดับ 5 ของประเทศไทย

    • 6-9 ก.ย.2564 อบต.เจดีย์หัก  ฉีดวัคซีนซิโนฟาร์ม เข็มแรก  ให้ประชาชน ต.เจดีย์หัก ณ รพ.กรุงเทพเมืองราช
    • 4 ก.ย.2564 อ.เมืองราชบุรี ร่วมกับ สาธารณสุข จ.ราชบุรี  เร่งตรวจเชิงรุก  (Active cases finding : ACF) แคมป์คนงานก่อสร้างหมู่บ้านนิรันดร์​ฮิลล์  ม.9 ต.ดอนตะโก อ.เมือง จำนวน 77 คน (ต่างชาติ 72 คนไทย 5) ผบตรวจ ATK พบ ผลบวก 20 คน ชาวต่างชาติทั้งหมด สั่งปิดแคมป์คนงาน 14 วัน
    • 4-8 ก.ย.2564 อบจ.ราชบุรี เปิดลงทะเบียนวัคซีน "ซิโนฟาร์ม" ครั้งที่ 2 ระบบจะเปิดให้ลงทะเบียนได้  เวลา 9.00 น. - 16.00 น. ผู้สนใจ ลงทะเบียนฉีดวัคซีน ผ่านมือถือ โดย เข้าไปที่ลิงค์ นี้ https://forms.gle/RmKskskt8jQ17pia6 หรือ Scan OR Cod
    • 3 ก.ย.2564 สาธารณสุขจังหวัดราชบุรี รับพระราชทานเครื่องผลิตออกซิเจน (Oxygen concentrator) จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี องค์นายกกิตติมศักดิ์ และองค์ประธานกรรมการมูลนิธิชัยพัฒนา ขนาด 5 ลิตร และเครื่องวัดระดับออกซิเจนในเลือด จำนวน 6 ชุด โดยมอบให้โรงพยาบาลบ้านโป่งจำนวน 2 ชุด โรงพยาบาลโพธารามจำนวน 2 ชุด และโรงพยาบาลดำเนินสะดวกจำนวน 2 ชุด เพื่อนำไปใช้ในการช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด 19 ในพื้นที่
    • สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงพระราชทานวัคซีน "ซิโนฟาร์ม" จากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ให้แก่หน่วยแพทย์ พอ.สว.จังหวัดราชบุรี เพื่อฉีดให้ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส/ชุมชนแออัด ผู้สูงอายุ 70 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยติดเตึยง กลุ่มโรคเรื้อรัง พระ นักบวช และผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงระบบนัดของวัคซีนได้จำนวนทั้งสิ้น 3,200 คน แบ่งออกเป็น 
      • วันที่ 3 ก.ย.2564 อำเภอโพธาราม ที่หอประชุมเทศบาลโพธาราม 1,000 คน อำเภอสวนผึ้ง ที่ศาลาผู้สูงอายุโรงพยาบาลสวนผึ้ง 350 คน 
      • วันที่ 4 ก.ย. 2564 อำเภอบ้านคา ที่ห้องประชุมชั้น 2 โรงพยาบาลบ้านคา 250 คน
      • วันที่ 8 ก.ย. 2564 อำเภอดำเนินสะดวก ที่วัดสนามไชย อำเภอดำเนินสะดวก 600 คน
      • วันที่ 9 ก.ย.2564 อำเภอจอมบึง ที่ห้องประชุมการะเวกโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชจอมบึง 600 คน อำเภอดำเนินสะดวก ที่วัดโชติทายการาม 400 คน
    • 3 ก.ย.2564 ทม.ราชบุรี ฉีดวัคซีน (เข็ม 1 Sinovac  เข็ม 2 AstraZeneca) ให้ ประชาชนเขต ณ โรงเรียนเทศบาล 1 (วัดสัตตนารถปริวัตร)
    • 2 ก.ย.2564 นายรณภพ เหลืองไพโรจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี ในฐานะประธานกรรมการมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ประจำจังหวัดราชบุรี เป็นประธานมอบสิ่งของพระราชทาน หน้ากากอนามัย 2,880 กล่อง ให้กับนายอำเภอ ทั้ง 10 อำเภอของจังหวัดราชบุรี และสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อนำไปให้แก่ประชาชนที่มีฐานะยากจน ใช้ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19
    • 1 ก.ย.2564 สถาบันราชบุรีศึกษา รายงานจำนวนผู้ติดเชื้อเดือน ส.ค.2564 และสถานการณ์การฉีดวัคซีนของ จ.ราชบุรี 
    • 1 - 30 ก.ย.2564 จ.ราชบุรี ออกคำสั่งมาตรการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบายโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)  ฉบับที่ 38 สรุปดังนี้
      • ห้ามออกนอกเคหสถาน 21.00-04.00 น. (จนถึงวันที่ 14 ก.ย.2564)
      • ห้ามจัดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มเกิน 25 คน
      • โรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาทุกประเภท ให้สามารถใช้อาคารสถานที่เพือการจัดการเรียนการสอน   การสอบ การฝึกอบรม หรือการทำกิจกรรมใด ๆ  ที่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมากได้
      • ร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มเปิดได้ถึง 20.00 น. ห้ามการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้าน ร้านที่มีเครื่องปรับอากาศ ผู้บริโภคไม่เกิน 50% ร้านที่เป็นพื้นที่เปิด ร้านขนาดเล็ก หาบเร่ แผงลอย รถเข็น ผู้บริโภคไมเกิน 75% รวมร้านอาหารในห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ด้วย
      • สถานเสริมความงาม ร้านเสริมสวย แต่งผม หรือตัดผม เปิดได้
      • สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ หรือนวดแผนไทย เปิดให้บริการเฉพาะนวดเท้า
      • ตลาดนัดเปิดได้ถึง 20.00 น. เฉพาะจำหน่ายสินค้าอุปโภคหรือบริโภค
      • คลินิกเวชกรรมและสถานเสริมความงาม  เปิดได้ให้บริการได้รายละไม่เกิน 1 ชั่วโมง
      • สถาบันกวดวิชา โรงภาพยนตร์ สวนสนุก สวนน้ำ สระว่ายน้ำ  สถานที่ออกกำลังกาย ฟิตเนส ตู้เกม  เครื่องเล่น ร้านเกม  การจัดเลี้ยง การจัดประชุม  ยังคงปิดดำเนินการไว้ก่อน 
      • สวนสาธารณะ ลานกีฬา สนามกีฬา สระน้ำเพื่อการกีฬา หรือกิจกรรมทางน้ำเพื่อการสันทนาการ สระว่ายน้ำสาธารณะ หรือสถานที่เพื่อการออกกำลังกายประเภทกลางแจ้ง อยู่ในพื้นที่โล่ง สนามกีฬา ที่อากาศถ่ายเทได้ดี สามารถเปิดได้ถึง 20.00 น.
      • ร้านสะดวกซื้อ ตลาดสด ถนนคนเดิน เปิดถึง 20.00 น.ปิด 20.00 น.-04.00 น.
      • เดินทางข้ามจังหวัดได้ เมื่อจำเป็น
      • ขนส่งสาธารณะได้ทุกประเภท จำกัดผู้โดยสารไม่เกิน 75%
      • เจ้าหน้าที่และบุคลากรของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ ปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งขั้นสูงสุดตามจำนวน
      • สถานที่เล่นการพนัน ชนไก่ กัดปลา ชกมวย วัวลาน ฯลฯ ปิดชั่วคราจนกว่าจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
      • ปิดชั่วคราว 1-14 ก.ย.2564  สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ อาบน้ำ อาบอบนวด สนุ๊กเกอร์ บิลเลียด สวนสนุก โบว์ลิ่ง ตู้เกม เครื่งเล่นเกม  สนามเด็ก เครื่องเล่น บ้านลม  บ้านบอล  ร้านเกม อินเทอร์เน็ต อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร สอนลีลาศ สถานรับเลี้ยงเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 
      • ประกาศใช้ มาตรการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล (Universal Prevention for COVID-19) 
      • ผู้ประกอบการรับผิดชอบปฏิบัติตาม มาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร (Covid free setting)
      • มาตรการป้องกันโรค วัดอุณหภูมิ สวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง 1 เมตร  พื้นที่ 4 ตร.ม./ต่อคน ล้างมือ ทำความสะอาดสถานที่  ลงทะเบียนเข้า-ออกสถานที่ ใช้แอปฯ ไทยชนะ
    • 30 ส.ค.2564 ทม.ราชบุรี ฉีดวัคซีน (เข็ม 1 Sinovac  เข็ม 2 AstraZeneca) ให้ ประชาชนนเขต ณ โรงเรียนเทศบาล 1 (วัดสัตตนารถปริวัตร)
    • 30 ส.ค.2564 จ.ราชบุรี พบยอดผู้ป่วยใหม่ New High จำนวน 779 ราย อันดับ 4 ของประเทศไทย 

    • 26 ส.ค.2564 อบจ.จ.ราชบุรี กำหนดฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มที่จัดซื้อจากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ใน รพ.ทั่ว จ.ราชบุรี ให้ชาวราชบุรี ครั้งที่ 2  จำนวน 33,524 คน
    • 25-26 ส.ค.2564 อบต.คุ้งกระถิน ฉีดวัคซีนซิโนฟาร์ม เข็มแรก  ให้ประชาชน ต.คุ้งกระถิน จำนวน 2,200 คน ณ อาคารอเนกประสงค์ อบต.คุ้งกระถิน
    • 24 ส.ค.2564 จ.ราชบุรี พบยอดผู้ป่วยใหม่  จำนวน 558 ราย อันดับ 5 ของประเทศไทย 

    • 21 ส.ค.-3 ก.ย.2564 ปิด บจก.ซันไชด์เวิลด์เน็ท เลขที่ 91 หมู่ 9 ต.ดอนทราย อ.โพธาราม จ.ราชบุรี 
    • 20 ส.ค.2564 จ.ราชบุรีมีคำสั่งให้ โรงงานอุตสาหกรรมหรือสถานประกอบการที่มีจำนวนพนักงานตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป จัดตั้งศูนย์พักแยกกักกัน สำหรับผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในโรงงานอุตสาหกรรม (Factory Accommodation Isolation : FAI)
    • 19 ส.ค.2564 จ.ราชบุรี มีคำสั่งให้ ธนาคารหนือสถาบันการเงิน ที่ตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้า  ศูนย์การค้า  คอมมูนิตี้มอลล์ หีือ สถานประกอบการอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน สามารถเปิดดำเนินการได้จนถึงเวลา 20.00 น.
    • 19 ส.ค.2564 จ.ราชบุรี พบยอดผู้ป่วยใหม่ New High จำนวน 585 ราย อันดับ 7 ของประเทศไทย ขณะที่ยอดฉีดวัคซีนเข็ม 2 ฉีดได้เพียงร้อยละ 3.4 ของประชากร


    • 18 ส.ค.2564 อบจ.จ.ราชบุรี กำหนดฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มที่จัดซื้อจากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ใน รพ.ทั่ว จ.ราชบุรี ให้ชาวราชบุรี ครั้งที่ 1  จำนวน 22,476 คน

    • 17 ส.ค.2564 พบผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ของ จ.ราชบุรี จำนวน 398 คน (New High)
    • 16 ส.ค.2564 นายวิวัฒน์ นิติกาญจนา นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี มอบชุดตรวจคัดกรองโรคโควิด-19 Antigen Test Kit (ATK) เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ตามโครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม รักษา เยียวยา และฟื้นฟูให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ให้กับนายเกียรติกร ปัทมทัตต์ ผู้บัญชาเรือนจำกลางราชบุรี และนายณัฏฐ์พัฒน์ สิเนหสาร ผู้บัญชาการเรือนจำกลางเขาบิน หน่วยงานละ 3,000 ชุด
    • 15 ส.ค.2564 พบผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ของ จ.ราชบุรี จำนวน 358 คน (New High)
    • 14-27 ส.ค.2564 ปิด บจก. สตาร์ ฟู้ด กรุ๊ป  เลขที่ 33 หมู่ 8  ต.กรับใหญ่ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
    • 13 ส.ค.2564  เปิดศูนย์พักคอยในชุมชน (Community Isolation) ณ สวนสมุนไพร หมู่ที่ 4 ต.คุ้งกระถิน อ.เมือง จ.ราชบุรี
    • 9 ส.ค.2564 รัฐบาลประกาศ เร่งกระจายชุดตรวจ ATK ให้ ประชาชนตรวจด้วยตนเอง ภายใน ส.ค.2564  โดย องค์การเภสัชกรรม เร่งจัดหาชุดตรวจโควิด ATK Antigen test kit (ATK) จำนวน 8.5 ล้านชุด แจกให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสามารถตรวจหาเชื้อโควิด-19 ได้ด้วยตัวเอง ขณะเดียวกัน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จะประสานร้านขายยาแผนปัจจุบันประเภท 1 และคลินิกทั่วประเทศ เป็นหน่วยกระจายชุดตรวจ ATK เพื่อความรวดเร็วและทั่วถึง กรณีตรวจแล้วพบว่าติดเชื้อ และสามารถเข้ารับการรักษาในระบบ Home isolation หรือรักษาตัวที่บ้าน ร้านขายยาสามารถดูแลให้คำปรึกษา และติดตามอาการ ซึ่งจะช่วยผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรือมีอาการน้อยมากสามารถดูแลตัวเองได้
    • 9 ส.ค.2564 ณ ห้องประชุมอำเภอเมืองราชบุรี นายรณภพ เหลืองไพโรจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี เป็นประธานมอบอาหารกล่อง และสิ่งของถุงยังชีพโครงการน้ำพระทัยพระราชทานส่วนภูมิภาค ตามที่สมาคมสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้น้อมเกล้าฯ รับ พระราชเสาวนีย์ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง ดำเนินโครงการน้ำพระทัยพระราชทาน สมาคมสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย มาเป็นปีที่ 23 แล้ว โดยการสนับสนุนจากโครงการสลากการกุศล ในการนี้สมาคมสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย จึงร่วมกับจังหวัดราชบุรี พร้อมด้วยเหล่ากาชาดจังหวัดราชบุรี แม่บ้านมหาดไทยจังหวัดราชบุรี จัดกิจกรรมมอบอาหารกล่องและถุงยังชีพให้กับประชาชนที่ได้รับ ความเดือดร้อนและได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองราชบุรี เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 28 ก.ค.2564 และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 12 ส.ค.2564  โดยประธานในพิธีได้มอบอาหารกล่อง และสิ่งของถุงยังชีพให้กับนายอำเภอเมืองราชบุรี และตัวแทนผู้นำชุมชน เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับพี่น้องประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนและได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ COVID-19 ต่อไป
    • 9-13 ส.ค.2564 เทศบาลเมืองราชบุรี เปิดให้ประชาชนเขตเทศบาลเมืองราชบุรีที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ลงทะเบียนขอรับการช่วยเหลือได้ ตาม QR code ด้านล่าง
    • 6 ส.ค.2564 เริ่มเปลี่ยนสูตรการฉีดวัคซีน ทุกกลุ่มอายุ  เข็มที่ 1  ซิโนแวค เข็มที่ 2 แอสตร้าเซเนก้า (ห่างกัน 4 สัปดาห์) 
    • 6-18 ส.ค.2564 ปิด บจก.มั้งกี้ ชิคเก้น ฟู้ดส์ 98  ตั้งอยู่เลขที่ 9/1 หมู่ที่ 12 ต.หนองกบ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
    • 5 ส.ค. 2564 นายรณภพ เหลืองไพโรจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี พร้อม พญ.ปาจรีย์ อารีย์รบ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดราชบุรี ชี้แจงกรณีสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) มีการแชร์ข่าวว่าจังหวัดราชบุรีได้รับจัดสรรวัคซีนป้องกันโควิด-19 เป็นกรณีพิเศษจากนายกรัฐมนตรี จนทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจผิด ซึ่งจังหวัดราชบุรีขอแจ้งว่าปริมาณวัคซีนป้องกันโควิด 19 ของจังหวัดราชบุรีนั้น เป็นไปตามเกณฑ์การจัดสรรของกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นตามมาตรฐานเดียวกันทุกจังหวัด และจังหวัดราชบุรีไม่เคยได้รับจัดสรรวัคซีนเป็นกรณีพิเศษจากโควตาของนายกรัฐมนตรีแต่อย่างใด   
    • 4 ส.ค.2564  อปท.ของ จ.ราชบุรี ได้รับการจัดสรรวัคซีนซิโนฟาร์มจากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ครั้งที่ 5 
      • อบต.เจดีย์หัก จำนวน 181 โดส
      • อบต.คูบัว  จำนวน 130 โดส
      • อบต.คุ้งกระถิน จำนวน 4,000 โดส
    • 4 ส.ค.2564 โรงพยาบาลราชบุรีแจ้งผู้ที่ประสงค์ลงทะเบียนฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 กับทางโรงพยาบาลราชบุรี ไม่ควรลงกับระบบหมอพร้อม เพราะจะไม่สัมพันธ์กับการให้บริการฉีดวัคซีนของโรงพยาบาล ให้ประชาชนตรวจสอบคิวการฉีดวัคซีนที่ทาง ร.พ.ราชบุรีจัดลำดับไว้ และลงทะเบียนได้ที่ช่องทาง https://bit.ly/3g7bdMe
    • 4 ส.ค.2564 พบผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ของ จ.ราชบุรี จำนวน 350 คน (New High)
    • 3-31 ส.ค.2564  จ.ราชบุรี ได้รับการยกระดับเป็นจังหวัดควบคุมสูงสุดและเข็มงวด (สีแดงเข้ม) จึงได้ออกมาตราการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ฉบับที่ 36 สาระสำคัญดังนี้ 
      • ห้ามออกนอกเคหสถาน 21.00-04.00 น.ของวันรุ่งขึ้น ยกเว้น กิจกรรมด้านสาธารณสุข การขนส่งสินค้าเพื่อประโยชน์ของประชาชน  การขนส่งหรือการขนย้ายประชาชนเกี่ยวกับการติดเชื้อ การบริการเพื่อประโยชน์ของประชาชน อุบัติเหตุ การประกอบอาชีพที่จำเป็น 
      • การขนส่งสาธารณะให้บรรทุกผู้โดยสารไม่เกินร้อยละ 50 ของความจุ
      • ห้ามจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค ห้ามรวมกลุ่มเกิน 5 คน
      • ร้นจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม เปิดได้ไม่เกิน 20.00 น. ห้ามบริโภคในร้าน ให้ซื้อนำกลับไปบริโภคที่อื่น
      • ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ เปิดได้เฉพาะซูเปอร์มาร์เกต แผนกยาและเวชภัณฑ์  ส่วนร้านอาหารและจำหน่ายเครื่องดื่ม จำหน่ายได้ผ่านบริการขนส่งอาหาร (Food Delivery Service) เท่านั้น
      • โรงแรมเปิดได้ตามปกติ แต่งดจัดกิจกรรมประชุม สัมมนา หรือจัดเลี้ยง
      • ร้านสะดวกซื้อ ตลาดสด ตลาดนัด ตลาดโต้รุ่ง ถนนคนเดิน ให้ปิดบริการตั้ง 20.00 น. ถึง 04.00 น.ของวันรุ่งขึ้น 
      • โรงเรียน และสถานศึกษา งดการใช้อาคารสถานที่ในการจัดการเรียนการสอน เว้น โรงเรียนในรูปแบบอยู่ประจำ และโรงเรียนเอกชนนอกระบบ 7 แห่ง ได้แก่ รร.สอนขับรถอี.ไดรเวอร์ราชบุรี  รร.สอนขับรถอี.ไดรเวอร์ดำเนินสะดวก รร.สอนขับรถขุมทรัพย์ราชบุรี รร.สอนขับรถขุมทรัพย์ราชบุรี รร..สอนขับรถขุมทรัพย์บ้านโป่ง รร.สอนขับรถขุมทรัพย์จอมบึง รร.สอนขับรถแอดวานซ์ราชบุรี และ รร.สอนตัดผมแก้ว
      • สวนสาธารณะ ลานกีฬา สนามกีฬา ปิด 20.00 น.
      • ผู้ประกอบกิจการหรือโรงงาน จัดทำมาตรการป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่เฉพาะ  (Bubble and Seal) และมาตราการการเดินทางเคลื่อนย้ายระหว่างที่พักและสถานที่ทำงานภายใต้การควบคุม (Sealed Route)
      • เจ้าหน้าที่ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐดำเนินมาตรการปฎิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง (Work form home) ขั้นสูงสุดเต็มจำนวน เว้น การบริการสาธารณสุข  การควบคุมโรค การจราจร สาธารณูปโภค  การบรรเทาสาธารณภัย การรักษาความสงบเรียบร้อย 
      • สถานที่ที่ปิดจนกว่าจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น คือสถานที่ที่เล่นการพนัน
      • สถานที่ที่ปิด ระหว่าง 3-31 ส.ค.2564 ได้แก่ สถานบันเทิงผับ บาร์ คาราโอเกะ อาบอบนวด โต๊ะสนุกเกอร์ บิลเลียด  สวนสนุก โบว์ลิ่ง ตู้เกม เครื่องเล่นเกม สนามเด็กเล่น เครื่องเล่น บ้านบอล บ้านลม ร้านเกม ร้านอินเตอร์เน็ต สระว่ายน้ำ สวนน้ำ สระน้ำ กิจกรรมทางน้ำ กิจกรรมอาบน้ำ อบไอน้ำ  อบสุมนไพร สถาบันลีลาศและสอนลีลาศ นวดแผนไทย นวดฝ่าเท้า สปา สถานเสริมความงาม สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ สถานรับเลี้ยงเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เด็กก่อนวัยเรียน  สนามมวย ค่ายมวย โรงเรียนสอนมวย โรงเรียนสอนศิลปะป้องกันตัว ศูนย์และสนามพระเครื่อง-พระบูชา โรงภาพยนต์ โรงมหรสพ  การฉายหนังกลางแปลง การแสดงการละเล่นสาธารณะ สนามกอล์ฟ สนามซ้อมกอล์ฟ ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุม สถานที่จัดแสดงนิทรรศการ ศูนย์การเรียนรู้  ห้องสมุด บ้านหนังสือ พิพิธภัณฑ์ทุกประเภท บ่อตกปลา
      • เน้นย้ำมาตรการป้องกันโรค
        • ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย หรือคัดกรองอาการป่วยในระบบทางเดินหายใจ
        • ให้สวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า
        • ให้เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล อย่างน้อย 1 เมตร
        • ควบคุมผู้เข้าร่วมกิจกรรมมิให้แออัด โดยคิดเกณฑ์ตามขนาดพื้นที่ ไม่น้อยกว่า 4 ตารางเมตรต่อคน รวมทั้งพิจารณาเพิ่มพื้นที่ทางเดินให้มีัดส่วนมากขึ้น
        • จัดให้มีที่ล้างมือด้วยสบู่ หรือ เจลแอลกอฮอล์ หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรคให้เพียงพอ
        • จัดให้มีการเช็ดทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสของสถานที่ที่เกี่ยวข้องก่อนการทำกิจกรรม รวมทั้งระหว่าง และภายหลังการทำกิจกรรมด้วย
        • มีการลงทะเบียนก่อนเข้า และออกสถานที่ และเพิ่มมาตราการใช้แอปพลิเคชั่นไทยชนะ
    • 2 ส.ค.2564 จ.ราชบุรี เปิดโครงการรับคนราชบุรีกลับบ้าน
    • 2 ส.ค.2564 สรุปยอดการฉีดวัคซีนของ จ.ราชบุรี 

    • 2 ส.ค.2564 พบผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ของ จ.ราชบุรี จำนวน 304 คน (New High)

    • 2 ส.ค.2564 นายทศพล เผื่อนอุดม นายอำเภอเมืองราชบุรี/ประธานคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อ.เมืองราชบุรี จัดประชุม อปท. 5 แห่ง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาจัดตั้งศูนย์พักคอยชุมชน (Community Isolation)  เพื่อเพิ่มศักยภาพการกระจายระบบดูแลรักษาผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 โดยชุมชน รวมทั้งป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อก่อนนำส่งโรงพยาบาลหรือโรงพยาบาลสนาม  โดยผลการพิจารณาสรุปได้ดังนี้ 
      • ศูนย์พักคอยในชุมนุมวัดท้ายเมือง  โดยเทศบาลตำบลหลักเมือง จำนวน 50 เตียง รองรับผู้ป่วยในเขต ต.พงสวาย และ ต.โคกหม้อ
      • ศูนย์พักคอยตำบลคุ้งกระถิน  จำนวน   20    เตียง รองรับผู้ป่วย ต.คุ้งกระถิน
      • ศูนย์พักคอยกองพลพัฒนาที่ 1 โดย อบต.ดอนตะโก รองรับผู้ป่วย ต.ดอนตะโก จำนวน  50  เตียง 
      • ศูนย์พักคอยตำบลหินกอง โดยเทศบาลตำบลหินกองและ อบต.ห้วยไผ่  จำนวน  40    เตียง รองรับผู้ป่วย ต.หินกอง และ ต.ห้วยไผ่
      • ศูนย์พักคอยตำบลอ่างทอง (สำนักสงฆ์เขาหลวง)  โดยเทศบาลตำบลห้วยชินสีห์ จำนวน  35  เตียง รองรับผู้ป่วย ต.อ่างทอง 
    • 2 ส.ค.2564 ร้อย ตชด. 137 ปรับสถานที่กักกันผู้ที่หลบหนีเข้ามาตามแนวชายแดน เป็นศูนย์พักคอยสำหรับผู้ติดเชื้อโควิด (Community Isolation) เพื่อแยกผู้ป่วยออกจากบ้านและชุมชน นำมาพักคอยที่ศูนย์ฯ รอการนำส่งต่อไปรักษาที่โรงพยาบาลในพื้นที่ อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี รวมทั้ง 2 อาคารจะสามารถรองรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อได้ 300 คน  
    • 1 ส.ค.2564 มติ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. ขยายจังหวัดพื้นที่สีแดงเข้ม (ควบคุมสูงสุดและเข็มงวด) จาก 13 จังหวัด เป็น 29 จังหวัด (มีผล 3 ส.ค.2564) ซึ่งรวมจังหวัดราชบุรีด้วย

    • 31 ก.ค.2564  พบผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ของ จ.ราชบุรี จำนวน 233 คน (New High)

    • 30 ก.ค.2564  อปท.ของ จ.ราชบุรี ได้รับการจัดสรรวัคซีนซิโนฟาร์มจากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ครั้งที่ 4 
      • อบจ.ราชบุรี  จำนวน 32,524 โดส 
      • อบต.เจดีย์หัก จำนวน 2,670 โดส
      • ทต.หลุมดิน จำนวน 1,650 โดส
      • อบต.คูบัว  จำนวน 455 โดส
      • อบต.คุ้งกระถิน จำนวน 80 โดส
    • 27 ก.ค.2564  อปท.ของ จ.ราชบุรี ได้รับการจัดสรรวัคซีนซิโนฟาร์มจากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ครั้งที่ 3 
      • อบจ.ราชบุรี  จำนวน 22,476 โดส 
      • อบต.คูบัว  จำนวน 65 โดส
    • 26 ก.ค.- 2 ส.ค.2564  ปิด ตลาดกลางผักและผลไม้ จ.ราชบุรี (ตลาดศรีเมือง) และอาคารพาณิชย์ภายในตลาด
    • 25 ก.ค.2564 พบผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ของ จ.ราชบุรี จำนวน 210 คน (New High)
    • 24 ก.ค.2564 ผวจ.ราชบุรี มอบหมายให้ทุกอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ดำเนินจัดตั้งศูนย์พักคอย (Community Isolation) ในพื้นที่รองรับผู้ติดเชื้อ COVID-19 เพื่อลดการแพร่ระบาดในชุมชน ก่อนนำส่งโรงพยาบาลหรือโรงพบาบาลสนาม
    • 24 ก.ค.2564 พบผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ของ จ.ราชบุรี จำนวน 200 คน (New High)
    • 23 ก.ค.2564 ทีมแพทย์ พยาบาล และ จนท.โรงพยาบาลราชบุรี และ ทีมสนับสนุนจาก ทุกส่วนราชการ ให้บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ณ ศูนย์บริการฉีดวัคซีนอำเภอเมืองราชบุรี โรงยิมเนเซี่ยม จ.ราชบุรี เป็นการฉีดซิโนแวค เข็มที่ 1 ทั้งวัน ให้ อสม.  และประชาชนทั่วไป
    • 23 ก.ค.2564 สภา อบจ.ราชบุรี อนุมัติจ่ายเงินสะสม 108,500,000 ล้านบาท ซื้อวัคซีน Moderna จำนวน 80,000 โดส จากสภากาชาดไทย (โดยจะได้รับการจัดสรรครั้งแรก 40,000 โดส)*****
    • 23 ก.ค.2564 จังหวัดราชบุรีออกประกาศ "คนราชบุรีไม่ทอดทิ้งกัน"
    • 23 ก.ค. 2564 เวลา 09.00 น. นายพลกฤต พวงวลัยสิน นายอำเภอจอมบึง เป็นประธานในการจัดกิจกรรม “โครงการคนจอมบึงไม่ทิ้งกัน” โดยมีพระครูประโชติวิสุทธิธรรม (ชูชาติ โชติกาโร) เจ้าอาวาสวัดจอมบึง เจ้าคณะตำบลจอมบึง - เบิกไพร แพทย์หญิงผกาพันธุ์ เปี่ยมคล้า ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชจอมบึง หัวหน้าส่วนราชการต่างๆ นายกองค์กรปกครองส่วนท้อง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ประกอบการภาคเอกชน และผู้มีจิตศรัทธา ชาวอำเภอจอมบึง ร่วมบริจาคเงิน มอบให้โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชจอมบึง เพื่อนำไปใช้ในการจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) จำนวนเงินรวมทั้งสิ้น  428,060  บาท
    • 22 ก.ค.2564 กรมอนามัย ออกประกาศคำแนะนำการป้องกันความเสี่ยงสำหรับผู้ให้บริการรับและส่งผู้ติดเชื้อ COVID-19
    • 22 ก.ค.2564  อปท.ของ จ.ราชบุรี ได้รับการจัดสรรวัคซีนซิโนฟาร์มจากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ครั้งที่ 2 
      • อบต.คุ้งกระถิน จำนวน 320 โดส 
      • อบต.เจดีย์หัก  จำนวน 149 โดส
    • 22 ก.ค.2564  นายทศพล เผื่อนอุดม  นายอำเภอเมืองราชบุรี พร้อมด้วยนางสาว กุลวลี นพอมรบดี ส.ส. ราชบุรี เขต 1  นายสุวัฒน์ อมรธีระกุล นายก อบต.คุงกระถิน ผอ.รพ.สต คุ้งกระถิน รวมถึงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้ร่วมเดินทางไปตรวจสอบประเมินความพร้อม ณ สวนสมุนไพร หมู่ 4 ต.คุ้งกระถิน อ.เมืองราชบุรีในการจัดตั้ง Community Isolation การดูแลตนเองในระบบชุมชนให้กับผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 ในชุมชน เนื่องจากสถานการณ์ของผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เตียงในโรงพยาบาลและโรงพยาบาลสนามทั้ง 4 แห่ง อาจจะไม่เพียงพอ เบื้องต้นทาง อบต. คุ้งกระถิน ให้สถานที่ ผู้นำชุมชนยินดีที่จะใช้เป็นสถานที่ดูแลคนในชุมชน และ อบต. คุ้งกระถิน มีความพร้อมสนับสนุนด้านงบประมาณ ตลอดจน อาคาร สถานที่ และสภาพแวดล้อมมีความเหมาะสม ร่มรื่น และห่างไกลชุมชน และจะประสานให้ทีมผู้เชี่ยวชาญมาดูความเหมาะสมทางด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม และปัจจัยอื่นๆ ต่อไป
    • 22 ก.ค. 2564   นายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี  นางสาวกุลวลี นพอมรบดี  ส.ส.เขต 1 ราชบุรี แพทย์หญิงปาจรีย์ อารีย์รบ  นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด  นายทศพล เผื่อนอุดม นายอำเภอเมืองนายสินาด รุ่งจรูญ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลหลักเมือง นายเอกชัย กลิ่นสุคนธ์  นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนตะโก และส่วนราชการเกี่ยวข้อง นำคณะตรวจเยี่ยมการเตรียมความพร้อมสนับสนุนสถานที่พักคอยสำหรับประชาชน ณ สมโสรสรนายทหารสัญญาบัตร ค่ายภาณุรังษี รองรับได้ถึงประมาณ 80 เตียง  และที่อาคารอเนกประสงค์  กองพลพัฒนาที่ 1 ค่ายศรีสุริยวงศ์ รองรับได้ถึง 80-100 เตียง ซึ่งรองรับพี่น้องประชาชน 3 ตำบลในเขต อ.เมืองราชบุรี คือตำบลดอนแร่ ตำบลห้วยไผ่ และตำบลดอนตะโก  
    • 22 ก.ค.2564 พบผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ของ จ.ราชบุรี จำนวน 191 คน (New High)
    • 22 ก.ค.2564  สรุปผลการฉีดวัคซีน ของศูนย์บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 อ.เมืองราชบุรี (โรงยิมเนเซี่ยม) 
      • ผู้ที่มารับฉีดวัคซีนซิโนแวค เข็มที่ 2 จำนวน 83 ราย แอสตร้า เซเนก้า เข็มที่ 2 จำนวน 147 คน 
      • ฉีควัคซีนกลุ่มอายุมากกว่า 60 ปี และโรคประจำตัว 7 โรค เข็มที่ 1 แอสตร้า เซนเนก้า จำนวน 715 คน
    • 20 ก.ค.2564 นายทศพล เผื่อนอุดม นายอำเภอเมืองราชบุรี เป็นประธานการประชุมเตรียมความพร้อมสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์พักคอยและการแยกกักตัวที่บ้าน (Community Isolation and Home Isolation) โดยมี ผู้แทนจากโรงพยาบาลราชบุรี สาธารณสุขอำเภอ ท้องถิ่นอำเภอ ผู้แทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และปลัดอำเภอหัวหน้าฝ่ายความมั่นคง เข้าร่วมประชุม เพื่อกำหนดแนวทางเตรียมการรองรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ ก่อนนำส่งโรงพยาบาลหรือโรงพยาบาลสนาม โดยการบูรณาการการทำงานของหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนในการแก้ไขปัญหา
    • 20 ก.ค.2564 พระอธิการสมยศ ยโสธโร เจ้าอาวาสวัดใหญ่อ่างทอง และผู้ดูแลที่พักสงฆ์เขาหลวง นายสัมฤทธิ์ สวนเพลง นายกเทศมนตรีตำบลห้วยชินสีห์ นายกิตติ โค้วถาวร ผู้ใหญ่บ้านเขาหลวง ม.3 ต.อ่างทอง และ ผอ.รพ.สต.อ่างทอง  ผู้นำชุมชน ได้ร่วมกันจัดประชุมประชาคม รับฟังความคิดเห็น และนำเรียนถึงเหตุผลความจำเป็น ในการจัดตั้งการจัดตั้ง Community Isolation การดูแลตนเองในระบบชุมชนให้กับผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 ในชุมชน เนื่องจากสถานการณ์ของผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เตียงในโรงพยาบาลและโรงพยาบาลสนามทั้ง 4 แห่ง อาจจะไม่เพียงพอ ผลการประชุมประชาคม มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการได้ 
    • 20 ก.ค.2564 นายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรีพร้อมด้วย นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา ส.ส.ราชบุรี เขต 2 น.ส. กุลวลี นพอมรบดี ส.ส. ราชบุรี เขต 1 นายทศพล เผื่อนอุดม นายอำเภอเมืองราชบุรี ผอ.สนง.พระพุทธศาสนาจังหวัดราชบุรี  ปภ.จังหวัดราชบุรี กรมโยธาธิการและผังเมือง รองนายก อบต.เจดีย์หัก และคณะลงพื้นที่หารือพิจารณาการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม ณ ศูนย์ปฏิบัติ วิปัสสนาอัคคธัมมสถาน วัดเขาวัง จังหวัดราชบุรี ซึ่งทาง พระภาวนาวิหารกิจ (ทองย้อย สญฺญโม) เจ้าอาวาสวัดเขาวัง ได้มีเมตตาดำริอนุญาตให้จัดตั้งเป็นโรงพยาบาลสนามแห่งที่ 5 ในเขตอำเภอเมืองราชบุรี ซึ่งจะสามารถรองรับผู้ป่วยได้จำนวน 500 เตียง ซึ่งถือเป็นโรงพยาบาลสนามที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดราชบุรี
    • 20 ก.ค.2564 พบผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ของ จ.ราชบุรี จำนวน 163 คน (New High)
    • 19 ก.ค.2564 UPDATE จำนวนผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของ จ.ราชบุรี (อ่านรายละเอียด)
    • 19 ก.ค.- 29 ก.ค.2564  โรงพยาบาลราชบุรี ประกาศปิดห้องผ่าตัด
    • 19 ก.ค.-1 ส.ค.2564 โรงเรียนและสถานศึกษา งดใช้อาคาร สถานที่ ในจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน (On-site) เว้น โรงเรียนในรูปแบบอยู่ประจำ และโรงเรียนเอกชนนอกระบบ 7 แห่ง ได้แก่ รร.สอนขับรถอี.ไดรเวอร์ราชบุรี  รร.สอนขับรถอี.ไดรเวอร์ดำเนินสะดวก รร.สอนขับรถขุมทรัพย์ราชบุรี รร.สอนขับรถขุมทรัพย์ราชบุรี รร..สอนขับรถขุมทรัพย์บ้านโป่ง รร.สอนขับรถขุมทรัพย์จอมบึง รร.สอนขับรถแอดวานซ์ราชบุรี และ รร.สอนตัดผมแก้ว
    • 18 ก.ค.2564 พบผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ของ จ.ราชบุรี จำนวน 160 คน (New High) 
    • 16 ก.ค.2564  ศูนย์บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 อ.เมืองราชบุรี (โรงยิมเนเซี่ยม) บริการฉีควัคซีนกลุ่มอายุมากกว่า 60 ปี และโรคประจำตัว 7 โรค เข็มที่ 1 แอสตร้า เซนเนก้า
    • 16 ก.ค.2564 นายรณภพ เหลืองไพโรจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี เป็นประธานในพิธีรับมอบรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัยพระราชทานตรวจเชิงรุกในพื้นที่เสี่ยง ณ ตลาดค้าส่งผักและผลไม้ ตลาดศรีเมือง โดยมีแพทย์หญิงปาจรีย์ อารีย์รบ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดราชบุรี แพทย์หญิงรพีพรรณ โพธิ์ทอง ผูอำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดราชบุรี นายแพทย์พิเชียร วุฒิสถิรภิญโญ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชบุรี ร่วมพิธีรับมอบรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัยพระราชทาน จำนวน 2 คัน (แบบ 2 Station และแบบ 1 Station) พร้อมทั้งอุปกรณ์ประจำรถ มอบให้สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดราชบุรี เพื่อเข้าตรวจเชิงรุกในพื้นที่เสี่ยง ตลอดจนเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ณ ตลาดค้าส่งผักและผลไม้ ตลาดศรีเมือง
    • 15 ก.ค.2564 ศูนย์บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 อ.เมืองราชบุรี (โรงยิมเนเซี่ยม) บริการฉีควัคซีนกลุ่มประชาชนทั่วไป (เน้นอายุน้อยกว่า 60 ปี) เข็มที่ 1 ซิโนแวค และ  เปลี่ยนผู้ที่มารับฉีดวัคซีนซิโนแวค เข็มที่ 2 เปลี่ยนเป็นแอสตร้า เซเนก้า เข็มที่ 2 แทน
    • 12 ก.ค.2564 UPDATE จำนวนผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของ จ.ราชบุรี (อ่านรายละเอียด)
    • 12 - 19 ก.ค.2564 ปิดอาคาร 8 ของตลาดกลางผักและผลไม้ จ.ราชบุรี (ตลาดศรีเมือง) พบผู้ป่วยยืนยันเป็นผู้ประกอบการค้าและแรงงานต่างด้าวที่ทำงานในตลาด เกินกว่า 170 ราย
    • 12 ก.ค.2564  พบผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ของ จ.ราชบุรี จำนวน 158 คน (New High) 
    12 ก.ค.2564 พบผู้ป่วย New high
    • 12-25 ก.ค.2564 ขอความร่วมมือประชาชนงดการเดินทางออกนอกเคหสถานหรือสถานที่พำนัก ตั้งแต่ 23.00 - 04.00 น. เว้นแต่มีเหตุจำเป็นไม่อาจหลีกเหลี่ยงได้
    • 12 ก.ค.2564 ออกมาตรการเพิ่มเติมและเน้นย้ำมาตราารป้องกันโรค
      • สวมหน้ากากผ้าทุกคน ไม่สวมมีโทษ 
      • ร้านอาหารและเครื่องดื่มเปิดได้ไม่เกิน 23.00 น. ห้ามดื่มแอลลกอฮอล์ในร้าน
      • สนามกีฬา ยิม ฟิสเนส เปิดได้ไม่เกินเวลา 21.00 น.
      • ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตีมอลล์ เปิดตามเวลาปกติ เว้นตู้เกม เครื่องเล่น ร้านเกม  สวนสนุก งดบริการ
      • ร้านสะดวกซื้อหรือร้านค้าปลีกที่มีลักษณะคล้ายกัน ให้เปิดบริการ ตั้งแต่ 04.00 - 23.00 น.
      • เน้นย้ำมาตรการป้องกันโรค
        • ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย หรือคัดกรองอาการป่วยในระบบทางเดินหายใจ
        • ให้สวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า
        • ให้เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล อย่างน้อย 1 เมตร
        • ควบคุมผู้เข้าร่วมกิจกรรมมิให้แออัด โดยคิดเกณฑ์ตามขนาดพื้นที่ ไม่น้อยกว่า 4 ตารางเมตรต่อคน รวมทั้งพิจารณาเพิ่มพื้นที่ทางเดินให้มีัดส่วนมากขึ้น
        • จัดให้มีที่ล้างมือด้วยสบู่ หรือ เจลแอลกอฮอล์ หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรคให้เพียงพอ
        • จัดให้มีการเช็ดทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสของสถานที่ที่เกี่ยวข้องก่อนการทำกิจกรรม รวมทั้งระหว่าง และภายหลังการทำกิจกรรมด้วย
        • มีการลงทะเบียนก่อนเข้า และออกสถานที่ และเพิ่มมาตราการใช้แอปพลิเคชั่นไทยชนะ
    • 10-14 ก.ค.2564 ปิดอาคาร 16 ของตลาดกลางผักและผลไม้ จ.ราชบุรี (ตลาดศรีเมือง) เป็นการชั่วคราว เพราะพบผู้ประกอบการและแรงงานต่างด้าวป่วยเป็นโควิด-19 เกินกว่า 50 รายและมีการแพร่ระบาด
    • 9 ก.ค.2564 สภา อบจ.ราชบุรี อนุมัติจ่ายเงินสะสม 100 ล้านบาท ซื้อวัคซีนซิโนฟาร์ม (เพิ่มเติม) อีกจำนวน 100,000 โดส จากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์*****
    • 8 - 20 ก.ค.2564 ปิดตลาดโชคอารีย์ หมู่ 9 ต.ดอนทราย อ.โพธาราม จ.ราชบุรี พบผู้ป่วยโควิด 11 ราย 
    • 8 ก.ค.2564 รายงานการสุ่มตรวจหาเชิงรุก (Active Serveillance) จำนวน 2,417 คน พบผู้ป่วย 56 คน (คิดเป็นร้อยละ 2.31)
    รายงานการสุ่มตรวจหาเชิงรุก
    • 5-18 ก.ค.2564 ปิดตลาดเอกชนริมน้ำ เขตเทศบาลเมืองบ้านโป่ง และบริเวณถนนโดยรอบ เป็นเวลา 14 วัน  เนื่องจากพบการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในลักษณะเป็นกลุ่มก้อน (cluster)
    • 5-18 ก.ค.2564 จ.ราชบุรี ออกมาตรการเข้มข้นขึ้น 
      • โรงเรียนและสถานศึกษาที่มีนักเรียน 120 คนขึ้นไป งดเรียนในโรงเรียน (On-site) 
      • ปิดสถานที่เล่นการพนันทุกประเภทโดยไม่มีกำหนด
      • ปิดสถานที่บริการหรือสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค 
    • 2 ก.ค.2564 จ.ราชบุรี ออกมาตรการสำหรับบุคคลที่เดินทางเข้าจังหวัดราชบุรี แบ่งการปฏิบัติออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 
      • กลุ่มที่ 1 ผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่การควบคุมสูงสุดและเข้มงวด เพื่อเข้ามาพักอาศัยอยู่ที่ จ.ราชบุรี เป็นการถาวร (มากกว่า 15 วัน) 
      • กลุ่มที่ 2 ผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด เพื่อมาเข้ามาพักอาศัยหรือทำงาน อยู่ที่ จ.ราชบุรี เป็นการชั่วคราว (น้อยกว่า 15 วัน) 
      • กลุ่มที่ 3 ผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่สภานการณ์อื่น เพื่อมาเข้ามาพักอาศัยหรือทำงาน อยู่ที่ จ.ราชบุรี
    • 30 มิ.ย.2564 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานชุดปกป้องทางเดินหายใจแบบอากาศบริสุทธิ์  PAPR รุ่น Easy Clean ให้โรงพยาบาลราชบุรี จ.ราชบุรี จำนวน 6 ชุด เพื่อให้แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์สวมใส่ในขณะปฏิบัติหน้าที่ดูแลรักษาผู้ป่วยโรค covid-19 ที่มีความจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัด การตรวจพิเศษด้วยโรคอื่น ๆ หรือการทำคลอด เป็นต้น โดยมีนายแพทย์พิเชียร วุฒิสถิรภิญโญ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชบุรีเป็นประธานในพิธีรับมอบ เบื้องหน้าพระฉายาลักษณ์
    • 23 มิ.ย.2564 สภา อบจ.ราชบุรี อนุมัติจ่ายเงินสะสม 100 ล้านบาท ซื้อวัคซีนซิโนฟาร์ม จำนวน 100,000 โดส จากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์*****
    • 21 มิ.ย.2564 สภาเทศบาลเมืองราชบุรี อนุมัติจ่ายเงินสะสม 10 ล้านบาท ซื้อวัคซีนซิโนฟาร์ม จำนวน 10,000 โดส จากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์*****
    • 21 มิ.ย.-4 ก.ค.2564 จ.ราชบุรีออกมาตรการเพิ่มเติมเข้มข้นขึ้น
    • 14 -27 มิ.ย.2564  จ.ราชบุรี ยังคงมาตรการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
    • 7 มิ.ย.2564 เริ่มฉีดวัคซีนแบบปูพรมพร้อมกันทั่วประเทศ
    • 7 - 20 มิ.ย.2564 ปิด บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) 158 หมู่ 15 ต.ปากแรต อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี เป็นการชั่วคราว เพราะพบผู้ป่วยโควิด-19 และการแพร่ระบาดภายในโรงงาน  28 คน
    • 1 มิ.ย. 2564 นายรณภพ เหลืองไพโรจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี เป็นประธานประชุมแนวทางการปฏิบัติในการบริหารจัดการพื้นที่ชายแดนในห้วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อเฝ้าระวังการลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย ตามแนวชายแดน อ.สวนผึ้ง และ อ.บ้านคา ที่มีพื้นที่ติดตามประเทศเมียนมา โดยมีทหาร ตำรวจ และฝ่ายปกครอง ร่วมประชุม ที่หน่วยเฉพาะกิจทัพพระยาเสือ อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี
    • 31 พ.ค.2564 - 13 มิ.ย.2564  จ.ราชบุรี ยังคงมาตรการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
    • 27 พ.ค.2564 เปิดโรงพยาบาลสนามแห่งที่ 2 ของกองทัพบก (กรมการทหารช่าง) ณ โรงพลศึกษา ศูนย์พัฒนากีฬากองทัพบก ค่ายบุรฉัตร ต.เกาะพลับพลา อ.เมือง จ.ราชบุรี ความจุ 80 เตียง (ชาย 40 หญิง 40)
    • 17-30 พ.ค.2564 จ.ราชบุรี ยังคงมาตรการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
    • 1-14 พ.ค.2564 จ.ราชบุรี ยังคงมาตรการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
    • 23 เม.ย.2564 เปิดโรงพยาบาลสนามแห่งที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีราชบุรี (89 เตียง)
    • 18 เม.ย.- 1 พ.ค.2564 จ.ราชบุรี ออกมาตรการต่าง ๆ  ดังนี้
      • ห้ามดำเนินการหรือจัดกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค
      • ปิดสถานที่บริการหรือสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค 
      • ออกมาตรการควบคุมแบบบูรณาการจำแนกตามพื้นที่สถานการณ์
      • ให้ประชาชนงดหรือหลีกเหลี่ยงการเดินทาง
    • 10-23 เม.ย.2564 ปิดสถานบริการและสถานที่เสี่ยวต่อการแพร่โรค เป็นเวลา 14 วัน
    • 29 มี.ค.2564 ควบคุมการระบาดรอบสองได้ 
    • 26 มี.ค.2564 ให้เดินทางด้วยรถโดยสารประจำทาง ราชบุรี-สมุทรสาคร-ราชบุรี ได้ตามปกติ
    • 25 มี.ค.2563 - 5 เม.ย.2564 ออกมาตรการในการจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรคในช่วยเทศกาลเช็งเม้ง
    • 25 มี.ค.2564 เริ่มพบการระบาดรอบสาม จากคลัสเตอร์สถานบันเทิงย่านสุขุมวิท ทองหล่อ 
    • 1 ก.พ.2564 ประกาศเปิดสถานที่และการจัดทำกิจกรรมต่าง ๆ     
    • 25 ม.ค.2564 จ.ราชบุรี ออกมาตรการสำหรับผู้ที่เดินทางไป-กลับ ระหว่าง ราชบุรี-สมุทรสาคร ห้ามมิให้แรงงานต่างด้าวเข้า-ออก พื้นที่ จ.ราชบุรี ยังคงปิดสถานที่เล่นการพนันทุกประเภท
    • 13 ม.ค.2564 จ.ราชบุรี ออกมาตรการสำหรับบุคคลที่เดินทางเข้าจังหวัดราชบุรี ต้องลงแอปฯ หมอชนะ และแบ่งการปฏิบัติออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 
      • กลุ่มที่ 1 ผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่การควบคุมสูงสุดและเข้มงวด จำนน 5 จังหวัด (จันทบุรี ชลบุรี ตราด ระยอง สมุทรสาคร) 
      • กลุ่มที่ 2 ผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ควบคุมสูงสุดจำนวน 22 จังหวัด
      • กลุ่มที่ 3 ผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ควบคุมและเฝ้าระวังสูง 49 จังหวัด 
    • 3 ม.ค.2564 ห้ามใช้อาคารหรือสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค ห้ามจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค ยังคงปิดสถานที่เสี่ยงต่อไป การตรวจคัดกรองการเดินทางข้ามจังหวัด ทุกภาคส่วนเคร่งครัดมาตรการป้องกันโรค
    • 30 ธ.ค.2563 เน้นสถานบริการห้ามเปิดเกิน  24.00 น.
    • 25 ธ.ค.2563 ห้ามมิให้แรงงานต่างด้าวเข้า-ออกพื้นที่ จ.ราชบุรี ปิดสถานที่ไม่มีกำหนด ได้แก่ สถานที่เล่นการพนัน (บ่อนไก่ กัดปลา วัวลาน) โต๊ะสนุ๊กเกอร์ บิลเลียด สวนสนุก โบว์ลิ่ง ตู้เกมส์ ร้านเกมส์ ร้านอินเตอร์เน็ต  สนามมวย โรเรียนสอนมวย ค่ายมวย โรงเรียนสอนศิลปะการต่อสู้  สนามเด็กเล่น เครื่องเล่น บ้านบอล บ้านลม สระว่าย สวนน้ำ  ศูนย์/สนามพระเครื่อง พระบูชา  ฟิตเนส กิจการอาบน้ำ อบไอน้ำ สมุนไพร  
      • ปิดตั้งแต่ 26 ธ.ค.2563-3 ม.ค.2564 ได้แก่ สถานศึกษาทุกประเภท รวมทั้งสถาบันกวดวิชา หรือฝึกวิชาชีพ
    • 17 ธ.ค.2563 พบการระบาดรอบสอง จากแรงงานต่างด้าวจากตลาดกลางกุ้ง ต.มหาชัย จ.สมุทรสาคร และบ่อนการพนันที่ จ.ระยอง 
    • 3 ส.ค.2563 เข้าสู่ภาวะปกติ
    • 1 ก.ค.2563 เปิดสถานที่และกิจกรรมต่าง ๆ ภาวะปกติ
    • 16 พ.ค.2563 เปิดสถานที่และกิจกรรมเพื่อเป็นการผ่อนคลาย โดยให้มีมาตรการเฝ้าระวัง 
    • 9 พ.ค.2563 ปิดสถานที่เสี่ยง ได้แก่ สวนสัตว์ สถานที่เล่นสเก๊ตหรือโรลเลอเบรด พิพิธภัณฑ์ โรงเรียนสอนศิลปะการต่อสู้ สถานที่สักร่างกาย สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ สถาบันลีลาศหรือสอนลีลาศ สถานดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาระพึ่งพิงระหว่างวัน
    • 3 พ.ค.2563 เปิดสถานที่และกิจกรรมที่ประกาศมาทั้งหมดเพื่อเป็นการผ่อนคลาย โดยมีเงื่อนไขบางประการ ได้แก่ สถานศึกษา เปิดสอนเฉพาะออนไลน์ จัดประชุมสัมมนาได้ ห้ามจำหน่ายหรือดื่มสุราภายในร้าน  ทุกสถานที่ต้องจัดทางเข้า-ออก ทางเดียว มีการตรวจวัดอุณห๓มิร่างกาย มีแอลกอฮอล์ล้างมือ ต้องเว้นระยะห่าง 1 เมตร  ร้านเสริมสวย ตัดผม หรือแต่งผม เปิดได้เฉพาะ สระ ตัด ซอยผม แต่งผม ต้องไม่มีผู้นั่งรออยู่ในร้าน 
    • 30 เม.ย.2563 จ.ราชบุรี มีคำสั่งมาตรการที่บังคับใช้ถึงวันที่ 30 เม.ย.2563 ยังมีผลบังคับใช้ต่อไป
    • 11-30 เม.ย. 2563 ปิดสถานที่จำหน่ายสุราทั้งค้าปลีกและส่ง แต่สามารถจำหน่ายสินค้าประเภทอื่นที่ไม่ใช่แอลกอฮอล์ได้
    • 5 -30 เม.ย.2563 ปิดชั่วคราว ร้านสะดวกซื้อหรือร้านค้าปลีก ประเภท 24 ชม. ผ่อนผันให้เปิดบริการตั้งแต่ 04.00-22.00 น. ห้ามกินในร้าน ให้ซื้อกลับบ้าน (เว้น ร้านขายยาและเวชภัณฑ์ของคนหรือสัตว์ เปิดได้ไม่จำกัดเวลา) สถานที่รับเลี้ยงเด็กเอกชน 
    • 9 เม.ย.2563 จ.ราชบุรี ประกาศ มาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับสถานสงเคราะห์ สถานพักฟื้น ฟื้นฟูเด็ก  คนชรา คนพิการ หรือสถานที่อื่นใดที่คล้ายคลึงกัน ทั้งของภาครัฐและเอกชน โดยห้ามบุคคลภายนอกเข้าไปมอบสิ่งของ ประกอบเลี้ยงอาหาร  หรือทำกิจกรรมอื่นใด ทั้งนี้การบริจาคและมอบสิ่งของ ให้ประสานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าของสถานที่นั้นเพื่ให้อำนวยความสะดวกตามเหมาะสม
    • 4 เม.ย.2563 งดกิจกรรมและกีฬาทางน้ำในแม่น้ำลำคลอง  ยกเว้นการขนส่งหรือการประมง
    • จ.ราชบุรี ได้สั่งให้มีการปิดสถานที่ต่าง ๆ ดังนี้ 
      • 31 มี.ค.2563 ปิดสถานที่ชั่วคราวจนกว่าจะมีคำสังเป็นอย่างอื่น ได้แก่ สถานที่เล่นการพนัน (บ่อนไก่ กัดปลา วัวลาน) สนามกีฬา สนามมวย สนามเด็กเล่น สถานศึกษาทุกประเภท
      • 3 - 30 เม.ย.2563 ปิดชั่วคราว ร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม รถเข็น แผงลอย ภัตตาคาร ห้องอาหาร สโมสร ห้าวสรรพสินค้า ศูนย์การค้า (เว้นซูเปอร์มาเก็ต ขายยา ร้านดอกไม้สด อาหารสัตว์ ธนาคาร ตลาดนัด สถานบันเทิง ร้านคาราโอเกะ สวนสนุก โบว์ลิ่ง ตู้เกมส์ ร้านเกมส์ ร้านอินเตอร์เน็ต สระว่ายน้ำ สวนน้ำ ศูนย์/สนามพระเครื่อง พระบูชา ศูนย์ประชุม หอประชุม สโมสร สถานที่จัดเลี้ยง อบรม สัมมนา นวดแผนโบราณ/นวดไทย/นวดเพื่อสุขภาพ ฟิจเนส สปา กิจการอาบน้ำ อบไอน้ำ สมุนไพร โรงภาพยนตร์ โรงมหรสพ ฉายหนังกลางแปลง ห้องสมดประชาชน คลีนิคทันตกรรม ศาสนาสถานทุกศาสนา
      • 1-30 เม.ย.2563 ปิดชั่วคราว ร้านสะดวกซื้อหรือร้านค้าปลีก (ให้เปิดบริการตั้งแต่ 05.00-23.00 น. ห้ามกินในร้าน ให้ซื้อกลับบ้าน) ร้านเสริมสวย ตัดผม แต่งผม สนามกอล์ฟ สนามฝึกซ้อมกอล์ฟ คลินิกเวชกรรมเสริมความงาม โต๊ะสนุ๊กเกอร์ บิลเลียด
      • 1-30 เม.ย.2563 ปิดชั่วคราว โรงแรม รีสอร์ท โฮมสเตย์ เกสต์เฮ้าส์ สถานที่พักแรม ใน อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี
    • 27 มี.ค.2563-2 เม.ย.2563 ปิดเพิ่ม ห้างสรรพสินค้า (เว้น ธนาคาร ซูเปอร์มาเก็ต) ตลาดนัด นวดแผนโบราณ/นวดไทย/นวดเพื่อสุขภาพ คลีนิคทันตกรรม กิจกรรมอาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร ห้องสมุดประชาชน ศาสนสถานของทุกศาสนา (้ว้นงานศพ งานบวช แต่ต้องไม่เกิน 50 คน) จำหน่ายอาหารให้นำกลับไปกินบ้าน ห้ามกินในร้าน ทุกคนสวมหน้ากากอนามัย 
    • 26 มี.ค.2563 - 30 เม.ย.2563 รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วราชอาณาจักร
    • 24 มี.ค.2563-2 เม.ย.2563 ปิดเพิ่ม ร้านอาหาร ภัตตาคาร ห้องอาหาร สโมสร และสถานที่ที่มีการจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สวนสนุก โบวลิ่ง ตู้เกมส์ เครื่องเล่นเกมส์ สระว่ายน้ำ สวนน้ำ ศูนย์/สนามพระเครื่อง ศูนย์การประชุม หอประชุม ห้องประชุม สโมสร งดจัดการอบรม สัมมนา หรือจัดกิจกรรมที่มีคนร่วมกันมากว่า 50 คน 
    • 20 มี.ค.2563- 2 เม.ย.2563 (14 วัน) ปิดสถานบริการและสถานบันเทิง ร้านคาราโอเกะ ร้านเกมส์ ฟิตเนส สปา งดกิจกรรมที่รวมคนจำนวนมาก งดการจัดเลี้ยง งดการแข่งขันกีฬาทุกประเภท ใครเดินทางเข้ามา จ.ราชบุรี กักตัว 14 วัน โดยกักตัวในที่พักอาศัย (State Quarantine at Home) ห้ามออกไปภายนอก ส่วนห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ ตลาดนัด ตลาดชุมชน ตลาดวัฒนธรรม ตลาดคนเดิน ยังไม่ปิด แต่ต้องมีมาตรการเฝ้าระวัง มีเจลหรือแอลกอฮอล์ล้างมือ ทำความสะอาดสถานที่ต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น 
    • 12 มี.ค.2563 จัดตั้ง "ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19)" โดยมี (คำสั่ง จ.ราชบุรี ที่ 1116/2563 ลง 12 มี.ค.2563)
      • ผวจ.ราชบุรี เป็นประธานกรรมการส่วนอำนวยการ 
      • รอง ผวจ.ราชบุรี (ที่กำกับดูแลงานด้านสาธารณสุข)  เป็นประธานคณะทำงานส่วนปฎิบัติการ 
      • รอง ผวจ.ราชบุรี (ที่กำกับดูแลงานด้านป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) เป็นประธานคณะทำงานส่วนสนับสนุน
      • รอง ผวจ.ราชบุรี (ที่กำกับดูแลงานด้านสาธารณสุข)  เป็นประธานคณะทำงานส่วนติดตามและรายงานผลปฎิบัติงาน
      • รอง ผวจ.ราชบุรี (2) เป็นประธานคณะทำงาน สนับสนุน ดูแล ตรวจสอบ กำกับวัสดุอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ ที่ใช้ในการป้องกันควบคุมโรค
      • รอง ผวจ.ราชบุรี (2) เป็นประธานคณะทำงานด้านการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้
      • นายอำเภอทุกอำเภอ เป็นประธานคณะทำงานโรคติดต่อระดับอำเภอ
      • นายกเทศมนตรีเมือง/นายกเทศมนตรีตำบล/นายกองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นประธานคณะทำงานโรคติดต่อระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
      • ผู้ใหญ่บ้าน/ประธานชุมชน เป็น หัวหน้าชุดปฏิบัติการประจำหมู่บ้าน/ชุมชน
    • 6 มี.ค.2563 การระบาดรอบแรก เกิดจากคลัสเตอร์สนามมวย สถานบันเทิงย่านทองหล่อ 
    • 31 ม.ค.2563 ชายไทยวัย 50 ปี ซึ่งขับแท็กซี่ในกรุงเทพมหานคร ได้รับผลตรวจว่าติดเชื้อโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ เพราะก่อนหน้านี้เขารับผู้โดยสารชาวจีนจากเมืองอู่ฮั่นซึ่งมีอาการป่วยไปส่งโรงพยาบาล ถือว่า ชายคนนี้เป็นคนไทยรายแรกที่ติดไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ โดยไม่เคยมีประวัติเดินทางไปประเทศจีนมาก่อน
    • 12 ม.ค.2563 พบผู้ป่วยหญิงจากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ติดเชื้อโควิด-19 ในไทยคนแรก

    ไม่มีความคิดเห็น: